วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การตั้งด่านของตำรวจ..................



ครับผม....วันนี้ลุงธีจะขอพูดถึงเรื่องการตั้งด่านของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ซึ่งพ่อแม่พี่น้องคงจะคุ้นเคยพบเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจพากันตรวจค้น
รถยนต์ - รถจักรยานยนต์ - ตรวจดูใบขับขี่ - ตรวจจับคนที่
ไม่สวมหมวกกันน็อคอยู่บนท้องถนนหลวงกันทั่วทั้งประเทศไทยนะครับ
คำว่า "ด่าน" ในความรู้สึกของชาวบ้านคือการตรวจจับความผิดจราจร
และสิ่งผิดกฎหมาย...แต่ถ้าว่ากันตามระเบียบจริงๆแล้วความหมาย
ของคำว่า "ด่าน" ตามระเบียบปฏิบัติของกรมตำรวจหรือสำนักงานตำรวจ
แห่งชาติ     มีกำหนดไว้ชัดแจ้งแดงแจ๋เลยทีเดียวเชียวครับ.........
อาจจะไม่ตรงกับความรู้สึกของชาวบ้านหรือ.....แม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ
ที่ปฎิบัติงานกันอยู่ทุกวี่ทุกวันก็อาจไม่รู้ไม่ทราบความหมายของคำว่า"ด่านตรวจ"
เพราะไม่มีผู้ใดนำมาอธิบายขยายความให้ชาวบ้านได้รับรู้รับทราบกันสักเท่าใด
วันนี้ลุงธี   ก็เลยขออนุญาตนำเอาคำสั่งของกรมตำรวจ ตามบันทึกสั่งการที่
0625.23/3779 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2540 ลงนามโดยท่าน พล.ต.อ.ประชา
พรหมนอก  อ.ตร.ในสมัยนั้น  ซึ่งอธิบายคำว่า "ด่านตรวจ" "จุดตรวจ" และ
"จุดสกัด" ไว้อย่างชัดเจน ตลอดจนวางแนวทางการปฎิบัติไว้อย่างครบถ้วนเลยครับ
เพื่อพ่อแม่พี่น้องจะได้ทราบและเข้าใจ หากตำรวจโรงพักใดปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาข้างต้นขอได้โปรดช่วยกันแนะนำพวกเขาเหล่านั้นด้วย
เพื่อที่ตำรวจไทยจะได้ไม่ทำผิดซ้ำซากจำเจ...เป็นเหตุให้ชาวบ้านเขาตำหนิ
ติเตียนกันอย่างทุกวันนี้ คร้าบบบบบบบ...........
อ้อ...ลืมไป...ฝากพี่น้องตำรวจเราทุกคนด้วยครับ...บางทีชาวบ้านเขาขี่รถ
จักรยานยนต์เข้ามาหาซื้อข้าวซื้อปลาในเมือง มีเงินติดตัวมา 100 - 200 บาท
เมื่อท่านพบเห็นการกระทำผิดกฎจราจรจะปรับเขาก็ขอให้ลงโทษสถานเบา
ด้วยนะครับ   ทำอย่างไรก็ได้ขอให้เขามีเงินเหลือเอาไปซื้ออาหารการกิน
กลับไปให้ลูกให้เต้าเขาด้วยนะคร้าบบบบ   อย่าหวังแต่เงินรางวัลจากการ
จับกุมความผิดเกี่ยวกับการจราจรมากเกินไปเลยนะคร้าบบบบบบบบ
ให้ดูตัวเองและคนในครอบครัวของท่านก่อนว่าได้เคารพกฎจราจร
อย่างเคร่งครัดเหนือกว่าชาวบ้านหรือเปล่า ถ้ายังพอๆกันอยู่ก็ขอได้โปรดเห็นใจ
ชาวบ้านเขาด้วยนะครับบบบบบ อีกอย่างคำพูดคำจากับชาวบ้านก็ขอให้
พูดอย่างสุภาพอ่อนโยน...ใช้ปิยวาจาด้วยนะคร้าบบบบบบ
ลุงธีขอร้อง.........


..................................................


บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ กรมตำรวจ โทร. 251-9391
ที่ 0625.23/3779                                                  วันที่    13 มีนาคม 2540
เรื่อง มาตรการการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด
ผบช..1 – 9. ., ., ตชด. และ จตร.
                                ตามที่ปรากฏข่าวว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านตรวจหรือจุดตรวจ เพื่อเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ใช้รถใช้ถนนในการสัญจรไปมาตามถนนหลวง ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนโดยทั่วไป ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด เพื่อให้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติดังนี้
1. ความหมายของคำว่า ด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด
1.1 ด่านตรวจ หมายถึง สถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหาน้าที่ในการตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ...จราจรทางบก พ..2535) โดยระบุสถานที่ไว้ชัดแจ้งเป็นการถาวร การตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจาก ครม. หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน.แล้วแต่กรณี
1.2 จุดตรวจ หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถหรือทางหลวงในกรณีปกติเป็นการชั่ว คราว โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ดัง กล่าว แต่ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วจะต้องยุบเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที
1.3 จุดสกัด หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ หรือทางหลวง ในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้นเป็นการชั่วคราวและ จะต้องยุบเลิกเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าว
                                2. การจัดตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด
2.1 ห้ามมิให้ตั้งด่านตรวจ จุดตรวจหรือจุดสกัด ในเขตทางเดินรถหรือ ทางหลวงเว้นแต่
2.1.1 ด่านตรวจ การจัดตั้งด่านตรวจจะกระทำได้ ต้องได้รับอนุมัติจาก ครม. หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน. แล้วแต่กรณี
2.1.2 จุดตรวจ การตั้งจุดตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ชั้น ผบก.ขึ้นไป โดยพิจารณาว่าเป็นกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่ง และต้องมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง
2.1.3 การ จัดตั้งจุดสกัด จะตั้งได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้น และจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับหัวหน้าสถานีตำรวจ หรือผู้รักษาการแทนขึ้นไป โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนดังกล่าวยัง คงมีอยู่เท่านั้น
2.2 ให้เลิกด่านตรวจ จุดตรวจ ที่ตั้งขึ้นไม่ตรงตามวัตถุประสงค์และความหมายตามข้อ 1 และ 2 ทั้งหมดตั้งแต่บัดนี้
3. การปฏิบัติ
3.1 การปฏิบัติหน้ามี่ ณ ด่านตรวจ จุดตรวจหรือจุดสกัด จะต้องมีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นหัวหน้า และจะต้องแต่งเครื่องแบบในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
3.2 การปฏิบัติในการตรวจค้น จับกุม ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ว่าด้วยการนั้นโดยเคร่งครัด
3.3 ที่ด่านตรวจหรือจุดตรวจ ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า หยุด โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ด่านตรวจหรือจุดตรวจ จะต้องมีในการติดตั้งป้ายและเครื่องหมายการจราจร และในเวลากลางคืนจะต้องให้มีแสงไฟส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่าง ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ก่อนถึงจุดตรวจ และให้มีแผ่นป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำด่านตรวจและจุดตรวจดังกล่าว นอกจากนั้นให้มีแผ่นป้ายแสดงข้อความว่า หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้ง ผู้บังคับการ โทร……………….”(ให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์ของ ผบก.ไว้ ข้อความดังกล่าวข้างต้นให้มองเห็นได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร
3.4 การตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด ให้ทุกหน่วยประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยใกล้เคียงให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบติดต่อกัน โดยมิให้เกิดการตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัดซ้ำซ้อนอันเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้สัญจรไปมาเป็นอันขาด
4. การควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติ
4.1 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเริ่มต้น หรือเลิกปฏิบัติหน้าที่ประจำจุดตรวจหรือ จุดสกัด ให้รายงานทาง ว. ให้ ผู้บังคับบัญชาผู้สั่งอนุมัติให้ตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัดดังกล่าวทราบ และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติแล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำจุดตรวจ หรือจุดสกัดดังกล่าว รายงานผลการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึง ผู้สั่งอนุมัติภายในวันถัดไปเป็นอย่างช้า
4.2 ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับ สว. ขึ้น ไป ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกตรวจการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำ ด่านตรวจ จุดตรวจหรือจุดสกัด ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
4.3 ให้ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาตาม 4.2 ที่จะต้องเอาใจใส่กวดขัน ดูแลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชาของตนมิให้ฉวยโอกาสขณะปฏิบัติหน้าที่ประจำด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด เรียกหรือรับผลประโยชน์จากผู้ใช้รถที่กระทำผิดกฎหมาย หรือไปดำเนินการจัดตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด ในเขตเดินรถหรือทางหลวง โดยมิได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ และหากตรวจพบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใดประพฤติมิชอบในลักษณะดังกล่าว ก็ให้รีบพิจารณาดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไปตามอำนาจหน้าที่ ทั้งทางคดีอาญาและคดีวินัย แล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึง ตร. ทราบ โดยมิชักช้า โดยรายงานดังกล่าว ให้ระบุ ยศ นาม ตำแหน่งของข้าราชการตำรวจผู้กระทำผิดพร้อมกับรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะและพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดให้ละเอียดชัดเจน
4.4 หากปรากฎว่าผู้บังคับบัญชาในระดับตั้งแต่กองบังคับการหรือเทียบเท่าขึ้นไปหรือ ตำรวจอื่น สืบสวนข้อเท็จจริงจนปรากฏชัดเจน หรือตรวจตราพบว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ ด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัดที่ใด มีพฤติการณ์มิชอบดังกล่าว ตาม 4.3 หรือจับกุมตัวได้ โดย ต่อเนื่องกันหลายวัน ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาทัณฑ์ทางวินัย แก่ผู้บังคับบัญชาที่ใกล้ชิดของ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำผิดดังกล่าวฐานบกพร่องละเลยไม่เอาใจใส่ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาของตนอีกส่วนหนึ่งด้วย
4.5 ให้ ผบช., ., ., .1 – 9 ตชด. และ จตร. ติดตามผลการปฏิบัติตามนัยบันทึกสั่งการนี้รายงานผลการปฏิบัติให้ ตร. ทราบภายในวันที่ 7 ของแต่ละเดือน ในรายงานให้ ปรากฏด้วยว่าได้มอบหมายให้ตรวจติดตามและมีผลการปฏิบัติเป็นอย่างไร ทั้งนี้ให้ปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
5. ให้ยกเลิกหนังสือสั่งการของ ตร. ด่วนที่สุดที่ 0520.23/427 ลง 13 ..2536 เรื่อง มาตรการกวดขันเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด
เพื่อทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
                                                                (ลงชื่อ)  พล... ประชา พรหมนอก
      (ประชา พรหมนอก)
                  .ตร.


                         








                                              ความผิดกฎหมายจราจรเป็นความผิดเล็กน้อย
                                         จนท.ตำรวจสามารถว่ากล่าวตักเตือนได้ตามกฎหมาย
                        ขอให้พวกเราชาวตำรวจจงช่วยกันฟื้นฟูภาพลักษณ์ขององค์กรตำรวจด้วยครับ
                                                                                                        
                                                           
                     


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น