วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โรงพักเพื่อประชาชน...พ.ศ.2553-2554

                     วันนี้ได้ไปตรวจจุดตรวจที่ตู้ยามนิวาส  ซึ่งตั้งอยู่หน้าที่ทำการไปรษณีย์   ได้มีโอกาสลองตรวจสอบ......สอบถามผู้ใต้บังคับบัญชานายหนึ่ง  ยศดาบตำรวจ..............ผมถามว่าตามที่ท่าน พล.ต.อ.วิชียร พจน์โพธิ์ศรี  ผบ.ตร.ของพวกเรา ได้รับตำแหน่งแล้วท่านมีนโยบายให้ลูกน้องของท่านทำงานตามโครงการโรงพักเพื่อประชาชนอย่างไรบ้าง....เอาที่จำได้มาสัก ข้อ สองข้อ   หรือนิดๆ หน่อยๆ ก็ได้....ทราบไหมครับพี่น้อง   คำตอบที่ผมได้ยินคือ...."ไม่ทราบ ครับ".....

                    ผมไม่แปลกใจเลยครับที่พี่น้องประชาชนไม่ชอบตำรวจ............หรืออาจจะใช้คำว่าเกลียดตำรวจ.........ซะเป็นส่วนมาก....ก็เพราะแม้แต่นโยบายที่พวกเราจะต้องปฏิบัติซึ่งสั่งการลงมาจากผู้บังคับบัญชาชั้นที่สูงที่สุดของพวกเรา....ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นตำรวจซึ่งทำหน้าที่สายตรวจและอยู่ใกล้ชิดติดกับประชาชนมากที่สุดยังพากันไม่ทราบ........แล้วพวกเราตำรวจจะพากันทำงานเป็นระบบ...หรือมีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศได้อย่างไร....เอ๊า....ช่วยกันปรับปรุงแก้ไของค์กรหน่อยพวกเรา...ช่วยกันคนละไม้....คนละมือ.....คาดว่าอีกไม่นานคงจะสำเร็จ....คร้าบบบบบบบบ....

                    "บริการดุจญาติ   พิทักษ์ราษฎร์ดุจครอบครัว"............สโลแกนนี้ได้ยินแล้วก็สามารถทราบและเข้าใจได้อย่างง่ายๆว่าต่อแต่นี้ไป.....ตำรวจเราจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่....เปลี่ยนวิธีคิด...เปลี่ยนวิธีปฏิบัติ...และเปลี่ยนวิธีให้คุณค่า  เสียใหม่   หรือที่เราเรียกกันว่า .....เปลี่ยนพาราดามนั่นแหละครับ........

                     ผมจึงขอถือโอกาสนี้นำคู่มือการปฏิบัติงานตามโครงการโรงพักเพื่อประชาชน มาลงไว้ให้ได้ศึกษาเป็นแนวทางการทำงานของตำรวจไทย.... และเพื่อที่ประชาชนจักได้รับรู้รับทราบถึงแนวทางการทำงานดังกล่าวอีกทางหนึ่งด้วยคร้าบบบบบบบบบบบบบ....

..................................................................................................................................
คู่มือการปฏิบัติ
โครงการสถานีตำรวจเพื่อประชาชน
(โรงพักเพื่อประชาชน) ระยะที่ ๓
ตามนโยบายเร่งด่วน  ๖ เดือนแรก ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

๑. นโยบายของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
                   เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓ พลตำรวจเอก วิเชียร  พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ประกาศนโยบายผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ออกเป็น ๔ ระยะ คือ ๑. นโยบายเฉพาะหน้าที่ต้องการให้เกิดผลทันทีและต่อเนื่อง ๒. นโยบายเร่งด่วน (ระยะ ๖ เดือน) ๓. นโยบายสำคัญภายในระยะ ๑ ปี และ ๔. นโยบายภายในระยะ ๓ ปี ซึ่งจากสถานการณ์ในรอบปีที่ผ่านมา คดีอาญาที่เกิดขึ้นมักจะมีความรุนแรง ซับซ้อน สร้างความสูญเสียสูง และปัญหาอาชญากรรมเฉพาะเรื่อง เช่น ปัญหาการล่วงละเมิดสถาบัน ความขัดแย้งทางการเมือง การกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด และปัญหา        สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการปฏิบัติตนไม่เหมาะสมของข้าราชการตำรวจบางราย ส่งผลต่อความไม่เชื่อมั่น ศรัทธา ในการปฏิบัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนั้น การดำเนินการตามโครงการสถานีตำรวจเพื่อประชาชน (โรงพักเพื่อประชาชน) ระยะที่ ๓ ให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมนั้น จึงได้กำหนดไว้ในนโยบายเร่งด่วน ดังนี้
                    นโยบายเร่งด่วน (ระยะ ๖ เดือน) “ปัดกวาดบ้าน ร่วมใจพัฒนา”
                    โดยเร่งรัดดำเนินการภายในระยะเวลา ๖ เดือน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางปฏิบัติ
                   ๑.๑ ปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจ
                          ให้เป็นที่พึ่งของเพื่อนประชาชนอย่างแท้จริง สถานีตำรวจถือเป็น “จุดแตกหัก” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีภารกิจ บทบาทหน้าที่สัมผัสใกล้ชิดและให้บริการประชาชนโดยตรง ทั้งนี้จะเน้นที่การปรับปรุงข้าราชการตำรวจ และระบบการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงประชาชนผู้รับบริการเป็นหลักให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัย กฎ ระเบียบ ขั้นตอนการปฏิบัติงานและแนวทางการปฏิบัติตาม “โครงการสถานีตำรวจเพื่อประชาชน” ให้ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งมีกิจกรรมดำเนินการทั้งตัวข้าราชการตำรวจและระบบการให้บริการ ดังนี้ “กิริยาวาจาสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส พร้อมใจช่วยเหลือ ไม่อยู่เหนือกฎหมาย ขยายบริการ ทำงานว่องไวใส่ใจประชาชน”  
                          ๑.๑.๑ กิริยาวาจาสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส
                                    ข้าราชการตำรวจของสถานีตำรวจทุกนาย ต้องแสดงกิริยาวาจา และมีท่าทาง   ที่สุภาพ และมีบุคลิกภาพที่เป็นมิตร แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ มีจิตใจที่พร้อมในการให้บริการประชาชน ทั้งในและนอกสถานีตำรวจ

-๒-

                          ๑.๑.๒ พร้อมใจช่วยเหลือ
                                    เมื่อประชาชนมาแจ้งความร้องทุกข์ มาพบหรือร้องขอความช่วยเหลือ หรือข้าราชการตำรวจผู้ใดก็ตามที่ประสบเหตุจะต้องแก้ไขปัญหา อำนวยความสะดวก หรือประสาน       การปฏิบัติในเบื้องต้นให้แก่ประชาชนทุกกรณีด้วยความเต็มใจ ทั้งนี้ต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ และ     ไม่คำนึงถึงว่าข้าราชการตำรวจผู้ได้รับคำร้องขอความช่วยเหลือจะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งงานใดจนกว่าจะมีผู้รับผิดชอบโดยตรงรับเรื่องไปดำเนินการ ข้าราชการตำรวจผู้นั้นจึงหมดภาระหน้าที่ดังกล่าว
                          ๑.๑.๓ ไม่อยู่เหนือกฎหมาย
                                    ข้าราชการตำรวจต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม โดยการเคารพ กฎ กติกา ระเบียบและกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่มีการใช้อภิสิทธิ์ใดๆ เกินกว่าสิทธิทั่วไป
                          ๑.๑.๔ ขยายบริการ
                                    กำหนดเป้าหมายและระยะเวลาการตรวจเยี่ยมประชาชน ได้แก่ ประชาชนทั่วไป ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยียน รับฟังปัญหาของประชาชน ชุมชน ตลอดจนจัดทำฐานข้อมูลท้องถิ่น โดยเน้นผู้เสียหายหรือผู้เคยตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม ทั้งนี้     ให้บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายต่างๆ ของสถานีตำรวจและ กต.ตร.สภ./สน.ในการลงพื้นที่และแก้ไขปัญหา
                          ๑.๑.๕ ทำงานว่องไวใส่ ใจประชาชน
                                    ลดขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการบนสถานีตำรวจ โดยนำรูปแบบจากสถานีตำรวจที่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี (Best Practices) มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงขั้นตอน         การให้บริการ ได้แก่ การให้บริการตามลำดับ (ระบบคิว) และการให้บริการด้วยความรวดเร็ว
                   ๑.๒ สร้างความสามัคคีกลมเกลียวของข้าราชการตำรวจทุกระดับชั้น
                          การแก้ไขใดๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมก็เช่นเดียวกัน ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันทำงานของทุกฝ่าย ข้าราชการตำรวจ      ทุกระดับชั้นถือเป็นกลไกหนึ่งในการแก้ปัญหาสังคม จำเป็นที่จะต้องมีความสามัคคี พูดคุยกัน         เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ทัศนคติ วิธีการทำงาน ทั้งยังต้องมีการฝึกอบรมและทำกิจกรรมสาธารณะร่วมกันเพื่อเรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีกิจกรรมดำเนินการ ดังนี้ “เปิดอกคุย        เสริมการฝึก สำนึกส่วนรวม”



--

                          ๑.๒.๑ เปิดอกคุย
                                    กำหนดให้มี “สภากาแฟ” เป็นเวทีในการพบปะหารือ พูดคุยปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่างๆ อย่างไม่เป็นทางการ หรือเชิญบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำงานเพื่อสาธารณะประโยชน์แก่สังคมมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน โดยกำหนดให้มีขึ้นทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการ กองบังคับการ และสถานีตำรวจ อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
                          ๑.๒.๒ เสริมการฝึก
                                    ยึดถือระเบียบปฏิบัติ “การฝึกประจำสัปดาห์” แก่ข้าราชการตำรวจทุกนาย เพื่อเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและจิตใจ มีการกำชับ กำกับดูแล อบรมให้ความรู้และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าอบรมและควบคุมการฝึกแต่ละครั้งอย่างจริงจัง สามารถตรวจสอบผลการปฏิบัติได้
                          ๑.๒.๓ สำนึกส่วนรวม
                                    จัดกิจกรรรม “จิตอาสา” ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชนและประชาชน       ในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกันระหว่างข้าราชการตำรวจและประชาชน ชุมชน หน่วยงานราชการและกลุ่มองค์กรในพื้นที่อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง
.............................................................
๒. แนวทางการปฏิบัติ
            ในการสร้างมาตรฐานของสถานีตำรวจและข้าราชการตำรวจ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ศรัทธาแก่ประชาชน จึงได้นำกรอบโครงการสถานีตำรวจเพื่อประชาชน (โรงพักเพื่อประชาชน) ระยะที่   (พ.ศ.๒๕๕๔ – ๒๕๕๘) และนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามนโยบายเร่งด่วน  (ระยะ ๖ เดือน) “ปัดกวาดบ้าน ร่วมใจพัฒนา” นำมาผสมผสานให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกัน เพื่อให้เป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติตามโครงการสถานีตำรวจเพื่อประชาชน (โรงพักเพื่อประชาชน) ระยะที่ ๓ ตามนโยบายเร่งด่วน ๖ เดือนแรก ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สรุปเป็นแผนภาพได้ดังนี้
ชี้แจงภารกิจ....ก่อนออกทำงาน..........

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น